หน่วยวัดในงาน นิวเมติกส์
เข้าใจง่ายๆ กับหน่วยวัดในงาน นิวเมติกส์
หลายๆท่านที่เพิ่งศึกษาเรื่องนิวเมติกส์ (งานลม ลมอัด) อาจจะพบปัญหาเกี่ยวกับเรื่อง Size / หน่วยวัด ต่างๆซึ่งก็น่าจะเป็นเรื่องปกติ
ศัพท์ที่ควรรู้ในงาน
“หุน” หน่วยวัดที่ช่าง หรือผู้เชี่ยวชาญมักจะพูดกัน ผมในฐานนะผู้ไม่รู้ ก็มักจะงงอยู่ตลอดว่ามันเทียบได้เท่าไรกับหน่วย “เซ็นติเมตร” ที่เราคุ้นเคย
ก็ยังยากอยู่ดีเมื่อเทียบเป็นเซ็นติเมตร แล้วจริงๆเทียบกับหน่วยไหนง่ายที่สุด
“นิ้ว” ดูจะเป็นหน่วยที่เหมาะสมที่สุดในการเทียบกับ หุน โดยสัญลักษณ์ของ หน่วยนับเป็นนิ้วจะใช้ ” (Double Quote) เช่น 3/4″ อ่านว่า “สามส่วนสี่นิ้ว” หรือ 6 หุน
การเทียบหน่วยนิ้วกับหุน โดย 1 นิ้วจะเท่ากับ 8 หุน ดังนั้น…
1/8″ หรือ 1 ส่วน 8 นิ้ว = 1 หุน
2/8″ เขียนแทนด้วย 1/4″ ครับ = 2 หุน
3/8″ หรือ 3 ส่วน 8 นิ้ว = 3 หุน
4/8″ จะไม่เขียนกันนะครับ จะเขียน 1/2″ แทน จริงๆก็คื 4 หุน หรือว่า ครึ่งนิ้ว
5/8″ หรือ 5 ส่วน 8 นิ้ว = 5 หุน
6/8″ จะไม่เขียนกันนะครับ จะเขียน 3/4″ แทน จริงๆก็คื 6 หุน ( 3/4 = 6/8)
7/8″ หรือ 7 ส่วน 8 นิ้ว = 7 หุน
8/8″ หรือ 8 ส่วน 8 นิ้ว จะเรียกว่า 1 นิ้ว (8 หุน)
และ Size ที่เราจะเห็นกันอยู่บ่อยๆในขนาดของวาล์วก็จะมี 1/4″ ,3/8″, 1/2″ ,1″ ,2″
หน่วยวัดความดัน
“Bar” หรือ บาร์
P คือ ความดัน (Pressure)
F คือ แรงที่กระทำตั้งฉากกับพื้นผิวนั้น ๆ (Normal Force)
A คือ พื้นที่ (Area) — หรืออาจใช้ S (Surface; พื้นผิว)
“PSI” หน่วยวัดสไตล์เมืองผู้ดี
Pound-force per Square Inch หน่วยความดัน ปอนด์ต่อตารางนิ้ว
“Kgf” = Kigogram force
“Kgf/cm²” Kilogram-force / Square Centimetre หน่วยความดัน กิโลกรมต่อตารางเซ็นติเมตร
1 Kgf/cm² = 14.2233 PSI
1 Bar = 14.5038 PSI
แล้วลมในยางรถยนต์ที่เราขับขี่กันอยู่ทุกๆวันใช้หน่วยวัดความดันชนิดไหน เช่นรถยนต์ที่ผมขับเองในคู่มือบอก ล้อหน้า 32 ล้อหลัง 30 หน่วยที่ว่านั้นก็คือ PSI นั่นเอง